ศาสตร์ + ศิลป์ การเขียนผลงานทางวิชาการ (ฉบับเต็มร้อย)

ผู้แต่ง : มัย ตะติยะ.

ปีที่พิมพ์ : 2557

เลขเรียกหนังสือ : 808.066 ม376ศ

เป็นการนำเสนอเนื้อหา ระเบียบ รูปแบบ วิธีการ นำไปสู่สาระสำคัญของการลงมือเขียนผลงานทางวิชาการ โดยมีรายละเอียดเชื่อมต่อให้เกิดความเข้าใจในการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ หรือเพื่อเลื่อนตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ หรือเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ซึ่งผลงานทางในสายงานการสอนจำแนกออกได้ 8 ประเภท ได้แก่ 1.เอกสารประกอบการสอน 2. เอกสารคำสอน 3. ตำรา 4. หนังสือ 5. งานวิจัย 6. บทความทางวิชาการ 7. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น (งานสร้างสรรค์หรือลักษณะอื่น) 8. งานแปล ในการเขียนผลงานทางวิชาการแต่ละลักษณะมีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่าต้องอาศัย ศาสตร์+ศิลป์ ที่จะทำให้ผลงานทางวิชาการนั้นๆ ออกมาดี ได้มาตรฐาน ศาสตร์ เป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ หรือทักษะในสาขาวิชานั้นๆ โดยมีความรู้อย่างลึกซึ้ง สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี ส่วน ศิลป์ เป็นเรื่องของรูปแบบการจัดวางชื่อบทที่ ชื่อบทเรียน หัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อย รูปภาพหรือแผนภูมิ ตาราง การพิมพ์การจัดวางตัวอักษร ฯลฯ ฉะนั้น สิ่งที่กล่าวไว้ทั้งศาสตร์และศิลป์ควรศึกษาให้ถ่องแท้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเขียนผลงานทางวิชาการ